ลำไย ช่วยอะไรจากภายในสู่ภายนอก?

      ลำไย ไม่เพียงแต่จะเป็นผลไม้ที่มีรสหวานอร่อยเท่านั้น ในทางการแพทย์แผนจีนโบราณยังบันทึกในตำหรับยาไว้ว่า ลำไยมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือด บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงประสาท ช่วยลดความเครียด และช่วยให้หลับสบาย เนื่องจากในผลลำไยมีวิตามินซี (Vitamin C) สูงมาก ลำไยเพียง 9 ผล ให้วิตามินซีสูงเกือบเทียบเท่าปริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวัน (75-90 mg.) นอกจากนี้ในเมล็ดลำไยยังมีสารซึ่งช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ และมีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อมะเร็ง และยังมีงานวิจัยในประเทศญี่ปุ่นที่พบว่าลำไยช่วยระงับประสาทที่อ่อนเพลียจากการทำงานหนัก ลดอาการเครียด กระวนกระวาย ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ลดระดับความดันโลหิต ไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของตับและไต ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทำให้นอนหลับได้ลึกขึ้น รู้สึกสดชื่นไม่หลงๆ ลืมๆ

บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง

บำรุงประสาท

ช่วยลดความเครียด

ช่วยให้หลับสบาย

การศึกษาวิจัย ลำไย

      มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนในเรื่องคุณประโยชน์ของลำไย โดยจากหลายงานวิจัยพบว่าในเนื้อและเมล็ดลำไยมีสารประกอบประเภทโพลีพีนอล ประกอบด้วย Gallic acid, Ellagic acid, โปรไซยานิดีนบี-2, A-type dimmers ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่าในเมล็ดลำไยมีสาร Saponin ซึ่งช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ มีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ โดยในลำไยนั้นมีสารที่มีประโยชน์ ดังนี้

  1. Gallic acid (แกลลิก แอซิด) สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันความเครียดระดับเซลล์หรือขบวนการอักเสบอันเป็นที่มาของความเสื่อมและโรคแห่งความเสื่อม เช่น มะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น
  2. Ellagic acid (เอลลาจิก แอซิด) ช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้ลดการสร้างเม็ดสีในผิว ลดการหมองคล้ำของผิว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดขบวนการอักเสบของหลอดเลือดจึงมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต
  3. Tannic acid (แทนนิก แอซิด) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย
  4. GABA (กาบา) เป็นกรดอะมิโนที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อรักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายจากความเครียดและนอนหลับสบาย 
  5. Corilagin (คอริลาจิน) มีฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดที่สัมพันธ์กับอาการอักเสบได้